วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เอ็กเซอร์ไซส์ ... 'อีคิว'

เอ็กเซอร์ไซส์ ... 'อีคิว'

ต้องยอมรับว่าตอนนี้ผู้คนจำนวนไม่น้อยกำลังเผชิญกับภาวะความกดดันที่กำลังถาโถมมาทุกทาง ความกดดันที่ทำให้ตัวเลขจากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตสูงถึง ร้อยละ 20 หรือประมาณ 6-12 ล้านคน และใน 6-12 ล้านคนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง โดยเฉพาะบรรดาเวิร์กกิ้งวูแมนที่ต้องแบกภาระทั้งในและนอกบ้าน ความเครียดที่สะสมไม่สามารถขจัดไปได้นั้นอาจนำไปสู่อาการทางจิตจนถึงขั้นฆ่า ตัวตายได้ ต้นเหตุที่เกิดขึ้นนี้ทางวิชาการเขาเรียกว่า EQ (emotional quotient) หรือที่เรียกกันว่า ความฉลาดทาง อารมณ์ที่เป็นพื้นฐานทางจิตใจ คนที่มีอีคิวดีก็จะสามารถควบคุมอารมณ์ ความต้องการ รู้จักยับยั้งชั่งใจ เรียนรู้ที่จะแสดงออก สามารถสร้าง แรงจูงใจให้ตัวเอง และยังตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างเด็ดขาด สามารถปรับตัวเข้ากับผู้คน สถานที่และ เหตุการณ์ต่างๆ ได้ แต่ถ้าอีคิวไม่ดีก็จะไม่รู้จักกับการบริหารอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเป็นปัญหา ทางสุขภาพจิตได้ในที่สุด
น.พ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล
น.พ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ทั่วไปโรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า คนไทยยังมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพจิตน้อย จึงไม่สามารถบริหารจัดการความเครียดได้ อีกทั้งสังคมยังมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนา IQ (intelligence quotient) ความฉลาดทางสติปัญญาจนมองข้ามในเรื่องของอีคิวไป ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ส่งผลให้คนมีปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้นทุกปีส่วนการที่จะบริหารอีคิวให้แข็งแรงนั้น คุณหมอให้ข้อแนะนำไว้ว่า 1. ต้องรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกตนเองมากกว่าการที่จะต้องคอย กล่าวโทษคนอื่นหรือสถานการณ์ บางครั้งการที่หมกมุ่นอยู่กับความเครียด มุ่งมั่นความสำเร็จมาก เกินไป ก็อาจทำให้ละเลยการใส่ใจอารมณ์ของตนเอง 2. ควรแยกแยะระหว่างความคิดและความรู้สึกของตนเองให้ได้ ไม่จำเป็นต้องตอบสนองความรู้สึกนั้นทุกครั้ง แต่การคิดอย่างมีเหตุผลจะสามารถช่วยควบคุมการ ตอบสนองต่ออารมณ์ความรู้สึกได้ 3. รู้จักใช้ความรู้สึกเพื่อช่วยในการตัดสินใจบ้างในบางครั้ง แต่ควรจะควบคู่ไปกับการใช้สติด้วย 4. รู้จักที่จะนับถือความรู้สึกของผู้อื่น แม้จะเป็นคนที่เก่งน้อยกว่าแต่อาจจะมีประสบการณ์ที่ดีกว่าก็ได้ 5. ควรควบคุมจิตใจไม่ให้โกรธหรือแสดงออกทางอารมณ์มากเกินไป การฝึกบ่อยๆ จะช่วยให้ควบคุมตัวเองได้ดีขึ้นเรื่อยๆ 6. หาเรื่องบวกในอารมณ์ลบ เช่น หาเหตุผลในเวลาที่รู้สึกไม่สบายใจ เครียด ท้อแท้ เพื่อฝึกให้เป็นคนที่มีเหตุผลมากขึ้น จิตใจจะเข้มแข็งมากขึ้นสามารถต่อสู้ใน เหตุการณ์ครั้งต่อไปได้ 7. อย่าทำตัวเป็นคนที่ชอบแนะนำ สั่งสอน อบรม วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นตลอดเวลา ควรรับฟังความคิดเห็น ประสบการณ์จากคนอื่นจะช่วยให้เป็นคนที่รู้จักยืดหยุ่นมากขึ้น หมั่นฝึกบ่อยๆ ก็จะเสริมสร้างให้อีคิวเข้มแข็งตลอดไป


ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างโรงพยาบาลมนารมย์ และวิชาการดอทคอมhttp://www.manarom.com/ http://www.vcharkarn.com/varticle/39871

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น