กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--สภาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
รศ.ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานสภามนตรี สสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) กล่าวว่า ในระหว่างงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 23-28 สิงหาคม ณ อิมแพค เมืองทองธานี สสวทท. ได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดนิทรรศการมนุษย์และสิ่งรอบตัว และหนึ่งใน 4 ของหัวข้อที่นำเสนอ ได้แก่การสร้างจิตสำนึกการป้องกันภัยรอบตัวเรา ในที่นี้ จะได้มีการนำเสนอข้อมูล เรื่อง ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ จากสมาคมพิษวิทยา เพื่อให้ผู้สนใจนำไปเผยแพร่ด้วย
ปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สื่อสารสำคัญในชีวิตประจำวันของประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ใช้มากกว่า 20 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการใช้โทรศัพท์มือถือมีประโยชน์ทำให้การติดต่อสื่อสารด้วยวาจา พร้อมทั้งการส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ช่วยให้ความเป็นอยู่ของคนไทยและเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการใช้โทรศัพท์มือถือ แนบหูครั้งละนาน ๆ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ โดยจากการวิจัยของแพทย์นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เตือนว่าผู้ที่ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคได้หลายชนิด อาทิ ปวดศีรษะ มะเร็งสมอง หูอักเสบ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและความจำเสื่อม ฯลฯ เป็นต้น
ดร.ดนัย ทิวาเวช กรรมการสมาคมพิษวิทยา และรองเลขาธิการของ สสวทท. กล่าวว่า ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีโดยตรง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คือ ในระยะสั้น จะมีอาการปวดหู ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มึนงง ขาดสมาธิ และเกิดความเครียดนอนไม่หลับ สำหรับผลในระยะยาว อาจทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม โรคมะเร็งสมอง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับประชาชนหรือผู้บริโภค เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายในอนาคต คือ 1 ) ควรใช้แต่ละครั้งให้น้อยลง 2) ควรใช้อุปกรณ์หูฟังทุกครั้งที่ใช้ เพราะจะทำให้ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อยลง 3) หลีกเลี่ยงการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ เพราะคลื่นแม่เล็กไฟฟ้าจะผ่านกะโหลกศีรษะของเด็กเข้าสู่เยื่อสมองได้ลึกกว่าของผู้ใหญ่ 4) หลีกเลี่ยงใช้ในที่มีสัญญาคลื่นโทรศัพท์จากสถานีส่งต่ำ เพราะผู้ใช้จะได้รับปริมาณคลื่นที่ส่งออกมาจากโทรศัพท์มือถือสูงกว่าปกติ 5) หลีกเลี่ยงการใช้ในขณะขับรถ เพราะทำให้ขาดสมาธิ จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 6) หลีกเลี่ยงการใช้ในขณะเติมน้ำมันรถยนต์ เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้ 7) ควรปิดมือถือก่อนเข้าไปในบริเวณที่มีการรับจ่ายน้ำมันและก๊าซ และการขนย้ายเชื้อเพลิงหรือสารเคมี
ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบ ควรจะมีการให้ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่ถูกต้อง และทันเหตุการณ์กับประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจ ทำให้หมดความสงสัย และการตื่นตระหนก และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งมีมาตรการควบคุมอันตรายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยมีประสิทธิภาพและมีผลดีขึ้นในอนาคต
สารพิษรอบตัว
รศ.ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานสภามนตรี สสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) กล่าวว่า ในระหว่างงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 23-28 สิงหาคม ณ อิมแพค เมืองทองธานี สสวทท. ได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดนิทรรศการมนุษย์และสิ่งรอบตัว และหนึ่งใน 4 ของหัวข้อที่นำเสนอ ได้แก่การสร้างจิตสำนึกการป้องกันภัยรอบตัวเรา ในที่นี้ จะได้มีการนำเสนอข้อมูล เรื่อง สารพิษรอบตัว จากสมาคมพิษวิทยา เพื่อให้ผู้สนใจนำไปเผยแพร่ด้วย
สารพิษ มีอยู่ทุกแห่ง คนทุกคนมีโอกาสรับสารพิษอยู่ตลอดเวลา ในปริมาณมากน้อยไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่ เกิดความเคยชิน และขาดความตระหนักถือสารพิษเหล่านี้ ดังนั้นประชาชนควรรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เพื่อจะได้ป้องกันตนเองจากอันตรายที่จะเกิดขึ้น
ดร.ดนัย ทิวาเวช กรรมการสมาคมพิษวิทยา และรองเลขาธิการ สสวทท. กล่าวว่า สารพิษนั้นมีอยู่ทุกคนทุกแก่ง และสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้ 3 ทาง คือ 1) การหายใจและการสูดดมเข้าทางจมูก เช่น สารตะกั่ว เบนซิน ควันบุหรี่ สารเคมีกำจัดแมลง 21) การดื่ม กลืนและกิน เช่น สารหนู แข่แมงดาถ้วย 3) การซึมผ่านทางผิวหนัง เช่นตะกั่ว สารเคมี ซึ่งเมื่อได้รับสารพิษเหล่านี้เข้าไปแล้ว จะเกิดการตอบสนอง 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลัน คือเมื่อได้รับสารจะตรวจพบทันที สามารถแก้ไขอาการหรือป้องกันสาเหตุได้ง่าย และ แบบเรื้อรัง จะตรวจพบได้เมื่อมีอาการของโรคมากแล้ว จนไม่สามารถแก้ไขอาการ หรือป้องกันสาเหตุได้ เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น
การเกิดโรคมะเร็งมีความซับซ้อนมาก ยังไม่รู้กลไกการเกิดที่แน่นอน ปัจจัยสำคัญโดยทั่วไปของการเกิดโรคมะเร็ง มี 4 ประเภท คือ 1) สารมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร เช่น เฮทเทอโรชัยคลิก เอมัน อัลฟ่าท็อกซิน ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้ก่อปัญหาทางสุขภาพมากที่สุด 2)การติดเชื้อ จากไวรัส บักเตรี และพยาธิใบไม้ในตับ 3) รังสี เช่น เอกซเรย์ อุลตราไวโอเลท 4) พันธุกรรม เช่นคนในครอบเคยเป็นมะเร็งเต้านม หรือลำไส้ใหญ่ ก็จะมีโอกาสเป็นสูง ข้อมูลทางวิชาการด้านสารก่อมะเร็งนั้นมีมาก ซึ่งจะเกิดในการประกอบอาหารต่าง ๆ เช่นประเภทปิ้งย่าง รมควัน หมัก เช่นพวก ไส้กรอก กุนเชียง แฮม หรือใช้น้ำมันทอดซ้ำ ๆ หลายครั้ง รวมทั้งในอาหารที่มีลักษณะยืดหยุ่น เช่นลูกชิ้นเด้ง ขนมหวานลูกกวาดหลากสี กุ้งแห้งใส่สี หรือเป็นอาหารที่มีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสงบดที่เก็บไว้นาน นอกจากนี้ยังมีสารที่ปนเปื้อนในอาหาร เช่น ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว สารเร่งเนื้อแดง และยาปฏิชีวนะที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ และผงชูรส เป็นต้น
การบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษเป็นความจำเป็นที่คนไทยต้องมี แต่ปัจจุบันยังอยู่อีกห่างไกล เนื่องจากขาดความรับผิดชอบของเกษตรกรผู้ผลิตอาหาร ผู้แปรรูป ผู้ปรุงรสสำเร็จ และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนั้นจึงควรรู้เท่าทันอันตรายจากสารพิษ และป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับสารพิษ และให้มีจิตสำนึกในการบริโภคตลอดเวลา จึงจะทำให้ทุกคน ปลอดโรคและมีสุขภาพดีตลอดไป
การดื่มชาเขียวในประเทศไทย
รศ.ดร.ประสิทธิ์ ทีฑพุฒิ ประธานสภามนตรี สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) กล่าวว่า ปัจจุบันการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่ประชาชนสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะการมีสุขภาพดี ย่อมอยู่ห่างไกลจากโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางชนิด ทำนองเดียวกัน ทางการแพทย์ปัจจุบันนิยมการป้องกันการเกิดโรค มากกว่าการรักษา ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ต้องใช้ยารักษาแพง และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ยารักษาโรคมะเร็งเป็นต้น
ดังนั้น จะเห็นแนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันมากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านั้น มีความนิยมขึ้นลงตามกระแส ตัวอย่างเช่น ปีที่ผ่านมา นิยมผลิตภัณฑ์ที่ผสมใบแปะก๋วย จะเห็นว่าอะไรต่าง ๆ ก็ใส่ใบแปะก๋วย แต่ในปีนี้จะเห็นว่า อะไร ๆ ก็ใส่ใบชาเขียว เครื่องดื่มชาเขียวขณะนี้กำลังเป็นที่นิยม และเพิ่งออกมาสู่ตลาดใหม่ ๆ รวงมทั้งยังมีชาขาวอีกด้วย โดยจะมีการบรรยายสรรพคุณว่า มีแอนติออกซิเด้นท์ ซึ่งป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด นอกจากนี้การตลาด และการโฆษณาทำให้การดื่มชาเขียวเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ดังนี้ สภาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สสวทท.) จึงได้จัดให้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง "การดื่มชาเขียวในประเทศไทย" ขึ้น เมื่อเร็ว นี้ (15 ส.ค. 48) โดยวิทยากรได้นำเสนอพื้นฐานความรู้เรื่องชาเขียว เช่น สารออกฤทธิ์ที่สำคัญในชาเขียว กระบวนการผลิต, ผลกระทบทั้งผลดีและผลเสียต่อร่างกาย รวมทั้งปริมาณการบริโภคที่เหมาะสม ที่จะทำให้เกิดผลดีและความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค
อ้างอิง http://www.newswit.com/news/2005-08-23/a51cddf78132ad71684263aa259520f1/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น